ถูกจับในข้อหาอาชญากรสงคราม ร่วมทุกข์ร่วมสุขจอมพล ป. ของ สังข์_พัธโนทัย

หลังจากสงครามมหาเอเชียบูรพาสิ้นสุดลง จอมพล ป. พิบูลสงครามประกาศลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี รายการสนทนา นายมั่น นายคง ก็ยุติลงด้วย จอมพล ป. ขยับไปดูเชิงทางการเมืองที่เขากระโจน ในกองทหารปืนใหญ่ที่ลพบุรี และได้ชักชวนให้นายสังข์ไปอยู่ด้วย รวมถึงมีบัญชาให้นายสังข์ เข้าทำงานที่สถานีวิทยุลพบุรี หลังจากสงครามมหาเอเชียบูรพาสงบลงในเดือน สิงหาคม 2488 เมื่อสหรัฐทิ้งระเบิดปรมาณูในฮิโรชิมาและนางาซากิ ญี่ปุ่นก็ยอมแพ้อย่างราบคาบและปราศจากเงื่อนไข ทหารญี่ปุ่นในไทยถูกปลดอาวุธ นายปรีดี พนมยงค์ ในฐานะหัวหน้าเสรีไทย ซึ่งมีอำนาจสูงสุดในแผ่นดินในขณะนั้น ได้ประกาศการประกาศสงครามของไทยต่อสหรัฐและอังกฤษให้เป็นโมฆะ และในฐานะที่จอมพล ป.ฯ เป็นพันธมิตรกับญี่ปุ่น ทำให้จอมพล ป. และบริวาร รวมถึงนายสังข์ จะต้องตกอยู่ในฐานะอาชญากรสงครามโลก เช่นเดียวกับฮิตเลอร์และโตโจ ซึ่งขญะถูกจับกุมคุมขังนั้น นายสังข์มีอายุเพียง 29 ปีเท่านั้น โดยนายสังข์ถูกส่งตัวมาขังที่สันติบาล ส่วนจอมพล ป. ถูกขังอยู่ที่โรงพักศาลาแดง แต่ได้ขอไปยังเจ้าหน้าที่ตำรวจ ให้ช่วยส่งตัวนายสังข์มาคุมขังที่โรงพักศาลาแดงเพื่อมาอยู่เป็นเพื่อน ซึ่งหลังจากติดคุกอยู่ด้วยกันเพียงไม่กี่วัน ตำรวจก็ส่งตัวผู้ต้องขังทั้งหมดไปผลัดฟ้องศาล แล้วนำเข้าเรือนจำจังหวัดพระนคร – ธนบุรี การที่ประสบชะตาเดียวกันในคุก ทำให้จอมพล ป.ฯ และนายสังข์ รักใคร่สนิทสนมกันมากราวกับบิดาและบุตรเลยทีเดียว และในวันที่ 12 มกราคม 2489 ศาลฎีกาก็ได้ตัดสินให้ปล่อยตัวผู้ต้องหาคดีอาชญากรสงครามทั้งหมด โดยหลักกฎหมายที่ว่า รัฐบาลออกกฎมาเพื่อมีจุดประสงค์เพื่อยิงเป้าจอมพล ป. ฯ และพรรคพวก ใช้บังคับย้อนหลังไม่ได้ ทั้งหมดจึงได้รับการปล่อยตัว